การแทรกแซงทางทหารในลิเบีย พ.ศ. 2554
การแทรกแซงทางทหารในลิเบีย พ.ศ. 2554

การแทรกแซงทางทหารในลิเบีย พ.ศ. 2554

การแทรกแซงทางทหารในลิเบีย พ.ศ. 2554 เริ่มตั้งแต่การบังคับใช้เขตห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบียซึ่งเห็นชอบโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554[1] เขตห้ามบินดังกล่าวได้รับการเสนอขึ้นระหว่างการก่อการกำเริบในลิเบีย พ.ศ. 2554 เพื่อป้องกันมิให้กองกำลังฝ่ายรัฐบาลซึ่งภักดีต่อมูอัมมาร์ กัดดาฟี ใช้ยุทโธปกรณ์ทางอากาศโจมตีฝ่ายกบฏเมื่อวันที่ 12 มีนาคม สันนิบาตอาหรับได้เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดเขตห้ามบิน[2][3] วันที่ 17 มีนาคม คณะมนตรีความมั่นคงมีมติ 10-0-5 ยอมรับเขตห้ามบินตามข้อมติที่ 1973 โดยมีรัฐสมาชิกห้าประเทศ ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งมักคัดค้านการเข้าแทรกแซงทางทหารต่อรัฐอธิปไตย แต่เห็นด้วยว่าควรจะมีการดำเนินมาตรการบางอย่าง[4][5][6]ขณะที่บทบาทของแต่ละประเทศในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวยังไม่เป็นที่กำหนดเจาะจง ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรได้ระบุเจตนาของตนว่าจะสนับสนุนมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการเร่งด่วน และเลบานอนและสหรัฐอเมริกาได้หนุนหลังข้อมติดังกล่าวอย่างเต็มที่[7][8]เมื่อวันที่ 18 มีนาคม มุสซา คุสซา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลิเบีย ประกาศหยุดยิงตามข้อมติดังกล่าว[9] อย่างไรก็ตาม การระดมยิงปืนใหญ่ถล่มมิสราตาและอัจดาบิยาห์ยังคงดำเนินต่อไป และทหารฝ่ายรัฐบาลยังคงรุกคืบสู่เบงกาซี ทหารและกองทัพรัฐบาลเข้าสู่เมืองเมื่อวันที่ 19 มีนาคม[10] นอกจากนี้ยังมีการยิงปืนใหญ่และปืนครกถล่มเมืองด้วย[11]วันที่ 19 มีนาคม การบังคับใช้เขตห้ามบินเริ่มต้นขึ้น และเครื่องบินรบฝรั่งเศสได้ออกเที่ยวบินปฏิบัติการทั่วลิเบียและมีการปิดกั้นทางทะเลโดยราชนาวีอังกฤษ[12] ข้อมติสหประชาชาติอนุมัติให้โจมตีทางอากาศต่อกองกำลังภาคพื้นดินของลิเบียและ "เรือรบ" ที่อาจเป็นภัยต่อพลเรือน[13] ในวันเดียวกัน กองกำลังผสมเริ่มต้น "ปฏิบัติการโอดิสซีย์ดอว์น" โดยมีเจตนาที่จะ "ห้ามมิให้รัฐบาลลิเบียใช้กำลังต่อประชาชนของตน"[14] การโจมตียานพาหนะของกองทัพบกลิเบียโดยเครื่องบินรบเจ็ตฝรั่งเศสได้รับการยืนยัน และมีการยิงขีปนาวุธบีจีเอ็ม-109 โทมาฮอว์ก 114 ลูกโดยเรือรบสหรัฐและเรือดำน้ำอังกฤษต่อการป้องกันทางอากาศของลิเบีย[15]สำนักข่าวบีบีซีรายงานเมื่อเวลา 16.00 น. GMT ของวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554 ว่ากองทัพอากาศฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบินรบ 20 ลำ มายังพื้นที่ 100 คูณ 150 กิโลเมตรเหนือเบงกาซีเพื่อป้องกันการโจมตีใด ๆ ต่อเมืองที่ถูกควบคุมโดยฝ่ายกบฏ[16] และอีกเกือบหนึ่งชั่วโมงถัดมา เครื่องบินรบฝรั่งเศสได้ยิงและทำลายยานพาหนะทหารของลิเบีย ซึ่งได้รับการยืนยันโดยโฆษกกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศส[16] ตามข้อมูลของอัลจาซีรา เครื่องบินเจ็ตทำลายรถถังลิเบียไปสี่คันในการโจมตีทางอากาศทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบงกาซี[15] อย่างไรก็ตาม การโจมตีดังกล่าวทำให้พลเรือนเสียชีวิต 50 คน[17]วันที่ 20 มีนาคม ขบวนรถทหารถูกทำลายใกล้กับเบงกาซี ทางตะวันออกของลิเบีย จากการโจมตีทางอากาศหลายครั้ง ทราบว่ายานพาหนะทหารกว่าเจ็ดสิบคันถูกทำลาย และทำให้ทหารภาคพื้นดินของฝ่ายรัฐบาลลิเบียเสียชีวิตหลายนาย[18] กองทัพบกลิเบียได้ประกาศหยุดยิงทันทีเป็นครั้งที่สอง เริ่มตั้งแต่ 21.00 น. ของวันที่ 20 มีนาคม[19]วันที่ 21 มีนาคม โฆษกรัฐบาลลิเบียประกาศว่าการโจมตียังคงดำเนินต่อในไปทริโปลี ซาบา และเซิร์ท[20]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแทรกแซงทางทหารในลิเบีย พ.ศ. 2554 http://news.blogs.cnn.com/2011/03/17/u-n-imposes-n... http://news.blogs.cnn.com/2011/03/20/libya-live-bl... http://edition.cnn.com/2011/WORLD/africa/03/19/lib... http://www.cnn.com/2011/WORLD/africa/03/19/libya.c... http://www.cnn.com/2011/WORLD/africa/03/19/libya.c... http://www.newstatesman.com/blogs/the-staggers/201... http://af.reuters.com/article/energyOilNews/idAFLD... http://www.washingtonpost.com/world/europeans-say-... http://blogs.aljazeera.net/live/africa/libya-live-... http://english.aljazeera.net/news/africa/2011/03/2...